วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ขันธ์ ๕

ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
  1. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
  2. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
  3. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
  4. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
  5. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
  • วิญญาณขันธ์ จัดเข้าในจิต
  • เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก
  • รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป
  • การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้านิพพาน                                                                 

 อริยสัจ ๔

         อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์  ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 
1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 
2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 
3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 
4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 
5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 
6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 
7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ  
8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ 
       ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงใน  ไตรสิกขา ได้ดังนี้ 
1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 
 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 
3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
 
    อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

กิจในอริยสัจ  คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
          กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

พรหมวิหาร ๔
          วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ในความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ
      คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้เประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้
  1. สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
  2. ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
  3. นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล
  4. เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย
  5. เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
  6. จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ
  7. จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น
  8. มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
  9. เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
  10. ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
  11. มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์
      เมตตา แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าหวังผลตอบแทนจะเป็นเมตตาที่เจือด้วยกิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้
      ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ว่า เราจะเมตตาสงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะไม่สร้างความลำบากให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความทุกข์ที่เขามี เราก็มีเสมอเขา ความสุขที่เขามี เราก็สบายใจไปกับเขา รักผู้อื่นเสมอด้วยรักตนเอง
      กรุณา แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความสงสารปรานีีนี้ก็ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกัน สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์
      ลักษณะของกรุณา การสงเคราะห์ทั้งทางด้านวัตถุ โดยธรรม ว่าผู้ที่จะสงเคราะห์๋นั้นขัดข้องทางใด หรือถ้าหาให้ไม่ได้ ก็ชี้ช่องบอกทาง
      มุทิตา แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไมีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีความโชคดีด้วยทรัพย์ มีปัญญาเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข สงบ ปราศจากอันตรายทัั้งปวง คิดยินดี โดยอารมณ์พลอยยินดีนี้ไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน การแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร คือไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
      อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง
  • คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบููรณ์ ศีลย่อมบริสุทธิ์
  • คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ ย่อมมีฌานสมาบัติ
  • คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

กัลยาณมิตร

         กัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ

คุณสมบัติของกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตรธรรม 7)
  1. ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
  2. ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
  3. ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
  4. วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
  5. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
  6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
  7. โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย

เบญจศีล - เบญจธรรม

เบญจศีล หมายถึง?  ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ
  1. ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ 
  2. ละเว้นจากการลักขโมย 
  3. ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 
  4. ละเว้นจากการพูดปด 
  5. ละเว้นจากการเสพสุรา 
 เบญจศีลทั้ง 5 ข้อจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะบุคคลผู้นั้นมีเบญจธรรมประจำตัว

อานิสงส์ของการรักษาศีล
1. ทำให้มีความสุขกายสุขใจ ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
2. ทำให้เกิดทรัพย์สมบัติมากขึ้นได้
3. ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มที่ โดยไม่ต้องหวาดระแวงภัย
4. ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
5. ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรขจายไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเคารพเชื่อถือ
6. ตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ

เบญจธรรม หมายถึง?  หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ 5 ประการ ได้แก่
1. เมตตากรุณา? 
         คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ ด้วยรู้ดีว่าทุกชีวิตย่อมมี ความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับเรา ทำให้ไม่ผิดศีลในข้อที่ 1
2. สัมมาอาชีพ? 

         คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 2?
3. ความสำรวมอินทรีย์? 

         คือ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้? ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 3?
4. ความซื่อสัตย์?

         คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท ทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 4
5. สติ? 

คือ การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกุศล ทำให้ชีวิตไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราเมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ การมี

       เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ จะทำให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข? 

กรรม

              กรรม ตามหลักทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจ จะเป็นทำดีหรือทำชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางให้คนหรือสัตว์ตกลงไปตาย อย่างนี้เป็นกรรม ถ้าหากขุดบ่อน้ำไว้กินไว้ใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง อย่างนี้ไม่เป็นกรรม เพราะไม่มีเจตนาจะให้สัตว์ตกลงไปตาย แต่หากรู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนหรือสัตว์จะพลัดตกได้ง่าย ปล่อยปละละเลย ทำให้คนหรือสัตว์ตกลงไปตาย อย่างนี้เป็นกรรม

หลักกรรม คือ การกระทำทุกอย่างจะต้องมีผลตอบแทนแน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ เรามักเรียกว่า กฎแห่งกรรม ไม่มีใครหนีพ้นจากกฎแห่งกรรมไปได้

กรรมมี 2 ประเภท คือ

2.1   กรรมดี    หมายถึง การกระทำความดี ทำไปแล้วตนเองมีความสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ผู้คนทั่วไปก็ยกย่องสรรเสริญ เช่น การทำบุญ การให้ทาน การรักษาศีล???? การประกอบอาชีพที่สุจริต การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน การเคารพต่อผู้ใหญ่ เป็นต้น

2.2   กรรมชั่ว   หมายถึง การกระทำที่ไม่ดี ทำไปแล้วตนเองไม่มีความสุข ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ผู้คนทั่วไปติเตียน เช่น การทำร้ายผู้อื่น การฆ่าสัตว์ การลักขโมย? การพูดปด พูดคำหยาบ การไม่เคารพยำเกรงผู้ใหญ่ เป็นต้น

ผลของกรรมจะเกิดขึ้น 2 ลักษณะ คือ

3.1   เกิดขึ้นทันที   คือ ผู้ทำดีจะมีความสุข ความสบายใจ ความปลื้มใจที่ได้ทำความดี เช่น เก็บเงินได้แล้วส่งคืนให้เจ้าของ ส่วนผู้ที่ทำความชั่วจะทุกข์ใจ หวาดระแวง กลัวผู้อื่นจะทราบความไม่ดีที่ตนได้ทำลงไป เช่น ทำร้ายผู้อื่น ก็จะหวาดระแวง ทุกข์ใจ เกรงว่าจะถูกตำรวจจับ เป็นต้น

3.2  เกิดขึ้นภายหลัง
  คือ ผู้ทำดีจะมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป ส่วนผู้ทำชั่วจะถูกสังคมลงโทษ ไม่มีใครอยากคบด้วย เป็นคนที่สังคมไม่ต้องการ อาจถูกดำเนินคดีถึงติดคุกได้